สเตียรอยด์ แบ่งเป็น 2 ประเภทตามต้นตอที่สร้างสเตียรอยด์ขึ้นมาคือ
เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดต่างๆ หรือปรับความเครียด ปรับความอ่อนเพลียไม่มีแรงให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ และอื่นๆอีกมากมายอย่างครอบจักรวาล
เนื่องด้วยคุณสมบัติในการรักษาของสารสเตียรอยด์มีมากมายนั่นเอง จึงทำให้บริษัทผลิตยา ผลิตยาสเตียรอยด์ขึ้นมาจำหน่ายโดยเลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ เป็นยาเคมี ที่ให้ผลในเรื่องการรักษาโรคได้ดีและรวดเร็วคล้ายสเตียรอยด์ธรรมชาติ แต่แตกต่างกัน ตรงที่สเตียรอยด์เป็นยาเคมีสังเคราะห์ และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายมากกว่า มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน มีหลายชนิดแต่ชนิดที่เรามักจะได้ยินคุ้นหู คือ เดกซาเมธาโซน และเพรดนิโซโลน
แม้ว่าทางการแพทย์จะใช้สเตียรอยด์ในการรักษาโรค แต่เนื่องจากสเตียรอยด์มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ดังนั้นทางการแพทย์จึงมักจะเลือกใช้สเตียรอยด์เป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่ไม่มียาที่รักษาอาการของโรคนั้นแล้ว หรืออาจใช้เพื่อการรักษาช่วงต้นที่เร่งด่วน เพื่อลดอาการ เช่น ใช้ต้านการอักเสบในโรคปวดข้อรูมาตอยด์ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และนอกจากนี้สเตียรอยด์ยังมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน จึงมีการนำมาใช้เพื่อลดภูมิคุ้มกันในโรคแพ้ภูมิตนเองเพื่อไม่ให้โรคลุกลาม เช่น โรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง), โรคสะเก็ดเงิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (โอ๋ ภัคจีรา ก็เป็นโรคนี้) ฯลฯ
# | ชนิด | ข้อบ่งใช้ |
---|---|---|
1 | ชนิดเม็ด | สำหรับกินบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ, |
2 | ชนิดน้ำ | สำหรับใช้ฉีด |
3 | ชนิดพ่น | สำหรับใช้ในโรคหอบหืด |
4 | ชนิดครีม | เป็นยาทาภายนอก สำหรับอาการผื่นแดง โรคผิวหนัง |
5 | ชนิดน้ำในหลอด | สำหรับหยอดตา |
แต่ทั้งหมดนี้ไม่ควรใช้ต่อเนื่อง ยกเว้น โรคบางโรค เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (รูมาตอยด์ เอสเอลอี สะเก็ดเงิน) หรือโรคหอบหืดให้พ่นสเตียรอยด์เมื่อจำเป็น